แม้ปัจจุบันความต้องการบริโภคเห็ดของคนไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระแสของเมนูเพื่อสุขภาพทำให้เห็ดมีราคาดีและขายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตเห็ดเพื่อจำหน่ายภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ97ส่วนการผลิตเพื่อส่งออกคิดเป็นร้อยละ 3 ได้แก่ เห็ดแห้ง เห็ดสด หรือเห็ดแช่เย็น เห็ดบรรจุกระป๋อง เห็ดแปรรูป โดยเห็ดที่ผลิตออกมาจำหน่ายมีรูปแบบการตลาด 2 รูปแบบ คือ ตลาดเห็ดสดและตลาดเห็ดแปรรูปซึ่งในแต่ละตลาดก็มีรายละเอียดปลีกย่อยคือ
- ตลาดเห็ดสด ถือเป็นตลาดที่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากที่สุด แต่ตลาดเห็ดสดก็มีอีกหลากกลายรูปแบบเช่น
- ตลาดขายส่ง นับว่าเป็นตลาดที่จะพบเป็นแหล่งรวบรวมผลปริมาณเห็ดในปริมาณมากๆ สำหรับตลาดสดเพื่อค้าเห็ดโดยเฉพาะยังไม่มีจึงทำให้ผู้เพาะเห็ดยังไม่สามารคทราบราคาผลผลิตที่แน่นอนได้ต้องทำการส่งเห็ดไปขายแล้วจึงจะตีราคาได้ในวันต่อๆ มาเป็นการค้าที่เป็นไปได้ ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ำผลผลิตที่ขายมีการสูญเสียมากพอสมควรเนื่องจากไม่มีห้องเย็น
- ตลาดไกลบ้าน เป็นตลาดผู้เพาะเห็ดส่งขายชนิดทั่วไปขายได้แน่นอนมีปริมาณและชนิดชัดเจนราคาขายได้เป็นไปตามกลไกของตลาดถ้าจะให้ดีต้องมีการประกันราคาหรือแจ้งราคาขายล่วงหน้า
- ตลาดค้าปลีกหรือการขายตรง การขายวิธีนี้จะต้องมีผลผลิตตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การขายผลผลิตตามงานต่างๆ ของเกษตรกรวิธีนี้ทำให้ได้รายได้สูงผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคาแต่ขายผลผลิตได้ไม่มากเท่าการขายตลาดทั่วไป ตลาดซุปเปอร์มาเก็ต การขายในตลาดนี้น่าสนใจเนื่องจากมีตลาดที่แน่นอนแต่มีเรื่องจำกัดในข้อของการให้เครดิตซึ่งในระยะนานกว่าจะได้รับเงินสดกลับคืนละต้องมีผลผลิตส่งให้ต่อเนื่องมาตรฐานผลผลิตเห็ดสูงกว่าตลาดทั่วไปเห็ดสดในตลาดจะมีราคาที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องที่นอกจากนี้เห็ดต่างชนิดกันก็มีราคาแตกต่างกันมากเนื่องจากขั้นตอนวิธีการต้นทุนในการผลิตต่างกัน
ปัจจุบันมีผู้สนใจผลิตเห็ดขายกันเป็นจำนวนมากแต่เห็ดบางชนิดก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดภายในประเทศอีกทั้งเห็นอีกหลายชนิดไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยต้องมีการนำเข้าเห็ดมาตำหน่ายอย่างไรก็ดีการนำเข้าเห็ดจากต่างประเทศหลากหลายชนิดย่อมแสดงให้เห็นว่าความต้องการของผู้บริโภคมีมากขึ้นจึงเป็นโอกาสและลู่ทางของนักวิจัยและนักเพาะเห็ดมืออาชีพทั้งหลายที่จะแสวงหาศึกษาเพื่อเพาะเห็ดเหล่านี้ขึ้นองในเมืองไทยจะได้ไม่ต้องนำเข้าเห็ดจากต่างประเทศให้เสียดุลการค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น