วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ฟาร์มเห็ดฟางในโรงเรือน “เพชรสุพรรณ” ตัดดอกขายรายได้กว่า 50,000 บาทต่อเดือน

เห็ดฟาง

เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ตลาดมีความ  มากและราคาไม่ผันผวนเหมือนกับเห็ดชนิดอื่น ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางมีอยู่หลายวิธี ทั้งแบบกองเตี้ย เพราะในโรงเรือนหรือในวัสดุอื่นๆ เช่น ตะกร้า โอ่ง ตามแต่เกษตระคิดค้นและวัตถุประสงค์การเพาะ แต่สำหรับการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนถือเป็นการเพราะเห็ดแบบอุตสาหกรรม มีการลงทุนที่สูง แต่ก็ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า “ฟาร์มเห็ดเพชรสุพรรณ” ที่ดำเนินการโดยคนหนุ่มไฟแรงที่มุ่งมั่นจะทำอาชีพเพาะเห็ดมาตั้งแต่วัยหนุ่มละอ่อน จนในวันนี้ถือว่าเป็นฟาร์มเห็ดฟางอุตสาหกรรมแนวน่าของเมืองไทยที่มีพัฒนาการเรื่องของเทคนิคต่างๆไม่หยุดยั้งและสามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
คุณนรินทร์  มณีวงษ์ คือคนหนุ่มไฟแรง เจ้าของ “ฟาร์มเห็ดเพชรสุพรรณ” เล่าย้อนอดีตก่อนที่จะเริ่มทำฟาร์มเห็ดว่า สนใจเรื่องเห็ดมาตั้งแต่เรียนมัธยม เมื่อครั้งอาจารย์พาไปดูงานฟาร์มเห็ดที่นครปฐมดูแล้วชอบ เพราะเป็นอาชีพเกษตรที่ไม่เหนื่อยมากและเห็ดเป็นที่ต้องการของตลาด พอจบ ม.6 จึงขอแม่ทำฟาร์มเห็ด แต่ถูกปฏิเสธ เพราะที่บ้านทำนาและไม่เห็นด้วยว่าการทำฟาร์มเห็ดจะไปรอด ทำให้ต้องหยุดโครงการทำฟาร์มเห็ดไปชั่วขณะ แต่ความคิดก็ยังไม่หยุดตาม ยังมีความมุ่งมั่นต่อไปและเมื่อรู้ว่ามีเพื่อนไปเรียนทางด้านเกษตรก็เลยตัดสินใจไปเรียนเกษตรตามเพื่อนที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี พอเข้าไปเรียนไปขออยู่กับอาจารย์ โดยขอทำงานในฟาร์มเห็ดของวิทยาลัยแลกกลับที่พัก มุ่งศึกษาเรื่องเห็ดอยู่กับโรงเห็ด เรียนรู้เห็ดก้อนขี้เลื่อย  เห็ดนางฟ้า -เห็ดหูหนู เห็ดฮังการี จนเกือบครบทุกชนิด ส่วนเห็ดฟางในวิทยาลัยมีสอนให้ทำกองเตี้ยอย่างเดียว จึงไปหาความรู้เพิ่มเติมจากข้างนอก โดยอาจารย์ส่งไปฝึกงานในฟาร์มเห็ด โดยเฉพาะฟาร์มเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จริงจากชาวบ้านบ้าง

 
หลังจากเรียนจบก็ใช่ว่าจะได้ฟาร์มเห็ดอย่างที่ตั้งใจไว้ทันที เพราะทางบ้านไม่ยอมจึงต้องไปทำงานรับเงินเดือนอยู่ที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย แต่ความคิดเรื่องทำเห็ดยังไม่ได้หยุด พยายามสะสมรายได้จากงานประจำไว้เ-ป็นทุนค่อย ๆ ทำฟาร์มเห็ดฟางเริ่มจาก 2 โรงเรือนพอทำโรงเรือนเสร็จก็ตัดสินใจออกจากงานทั้งที่ยังไม่เห็นผล ที่บ้านทุกคนถามว่าจะไปรอดไหมแต่เมื่อลงมือทำและเริ่มเก็บผลผลิตจำหน่าย หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือโรงละ 3,000 บาทต่อ 1 รอบการผลิต (ใช้เวลา 25 วัน) มี 2 โรงเรือนมีกำไรรอบละ 6,000 บาท ซึ่งเท่ากับเงินเดือนที่ทำ เมื่อทางบ้านเห็นว่าเราทำฟาร์มเห็ดไปแล้วไปรอด จึงให้ทุนเพิ่มโรงเรือนให้จาก 2 เป็น 4, 5 และ 6 ตามลำดับ  และก็ได้ผลดังตั้งใจสามารถเปลี่ยนตัวมันเองได้สามารถใช้หนี้คืนพ่อแม่ที่ให้ยืมลงทุนได้ทั้งหมด   จนปัจจุบัน 9 ปีเต็ม ขยายโรงเรือนมาเป็น 14 โรงเรือนและพัฒนามาสู่การทำเชื้อสำหรับใช้เองและจำหน่าย เฉลี่ยอาทิตย์ละ 2,000 กว่าก้อน มีรายได้เฉลี่ยจากการขายดอกอย่างเดียวหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเดือนละ 50,000 กว่าบาท เป็นขั้นต่ำและภาพรวมรายได้จากการขายก้อนเชื้อด้วย ก็ร่วม 100,000 บาท

การปลูกเห็ดฟางในโรงเรือน 

เป็นวิธีการที่ต้องลงทุนสูงในช่วงแรกแต่ผลตอบรับคุ้มค่าผลผลิตมีคุณภาพและทำได้ ทั้งปี ต่างจากการเพราะเห็ดฟางกองเตี้ย ที่ในหน้าฝนจะทำไม่ได้ต้องทำหลังจากเกี่ยวข้าว  หลังเดือนตุลาคม หรือหน้าแล้งการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนใช้เงินลงทุนทำโรงเรือนเฉลี่ยต่อโรง 4-5 หมื่นบาท (ขนาด 4x7m.) แต่ถ้าเป็นโรงเรือนผ้าใบ ประมาณ 30,000 บาทโรงเรือห็ดฟางต้องปิดสนิทไม่ให้อากาศถ่ายเทได้ช่วงเราอบอุณหภูมิ ต้องอบคุณอุณหภูมิในโรงเรือนช่วงที่เราอบที่ 60° ขึ้นไป 2 ชั่วโมง ในวันรุ่งขึ้นถึงจะโรยเชื้อได้”
               
คุณนรินทร์ บอกว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเพาะกองเตี้ยกับเพราะในโรงเรือน จะมีระยะการเก็บเกี่ยวเท่ากันแต่การเพราะกองเตี้ยต้นทุนต่ำกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือ ทำซ้ำที่ไม่ได้ แต่การเพาะในโรงเรือนสามารถทำที่เดิมได้แต่ต้องทำความสะอาดแล้วฆ่าเชื้อ ซึ่งการเพราะเห็ดฟางโรงเรือนมีข้อดีคคือ สามารถควบคุมโรคได้ใน 1 โรงเรือนพื้นที่ 60 ตารางเมตรใช้เชื้อ 50 ก้อน  วัสดุมีทะลายปาล์ม ฟางข้าว ใส่ทะลายปาล์มต้นทุนจะสูง 60 ตารางเมตรใช้ทะลายปาล์ม 3 ตัน ต้นทุนประมาณ 2,000 บาทต่อ  โรง แต่หากใช้ฟางข้าวมาช่วยและลดปริมาณทะลายปาล์มจะลดต้นทุนการผลิตลงได้คือ 1 โรงเรือนใช้ฟางข้าว 7 ก้อนมีต้นทุน140 บาท ค่าทะลายปาล์ม 1 ตัน 1,000 บาทค่าเชื้อ 50 ก้อน 500 บาทรวมแล้วไม่ถึง 2,000 ต่อ 1 โรงเรือน
               
 คุณนรินทร์ ยังอธิบายถึงการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดว่า โรงเรือนเพาะเห็ดฟางโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะคือโรงเรือน ชั่วคราวและโรงเรือนถาวร การสร้างโรงเรือนนี้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าจะมีต้นทุนในการสร้างได้เท่าไร แต่การสร้างโรงเรือนที่ถูกต้องเหมาะสมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการให้ผลผลิต เพราะต้องมีสภาพที่ใกล้เคียงที่สุด ทั้งความชื้นและการถ่ายเทอากาศ ในฤดูหนาวโรงเรือนต้องอบอุ่น ส่วนในฤดูร้อนเห็ดต้องทำให้ชุ่มชื่น อากาศไม่ร้อน ฉะนั้น เพชรสุพรรณฟาร์ม จึงสร้างโรงเรือนโดยใช้อิฐบล็อกมาทำฝาผนังฉาบปูนด้านใน ซึ่งเหมาะสมมากกว่าโรงเรือนที่ใช้ผ้ายางมาคุม เรื่องการดูแลรักษาอุณหภูมิความชื้น ในช่วงฤดูร้อนก็สามารถฉีดน้ำที่ผนังโรงเรือนเพื่อช่วยลดอุณหภูมิให้เย็นลง หลังคาควรมุงหลังคาจากเท่านั้นไม่ควรมุงด้วยสังกะสีหรือกระเบื้อง เพราะจะทำให้ร้อนเกินไปจะทำให้ให้เราให้ดอกเห็ดฝ่อ ไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันการทำโรงเรือนด้วยใช้ผ้ายางมักจะมีปัญหาในฤดูหนาวเนื่องจากได้ภายมักจะมีปัญหาฝ่อ ไม่ได้ผลผลิตดีในฤดูหนาวเนื่องจากได้ผลผลิตน้อย

การออกแบบโรงเรือนนั้นต้องพิจารณาต้นทุนของผู้เพาะเห็ด

การปฏิบัติงานไม่สะดวก อายุการใช้ง-านที่ยาวนาน การถ่ายเทอากาศที่ดี ทำความสะอาดง่าย ซึ่งขนาดพื้นที่โดยทั่วไปหากโรงเรือนขนาดเล็กจะมีขนาด 4.20 x 7 m. ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับเกษตรกรมือใหม่ ไม่สิ้นเปลืองมายในการก่อสร้างมากนัก ส่วนชั้นเพาะจะยาว 6 เมตร เท่ากับความยาวของไม้ไผ่ 1 ลำขนาดของชั้นเพาะเห็ดกว้าง 1m. ยาว 6 m. ฝาผนังห้องให้ใช้อิฐบล็อกเพื่อสะสมความร้อนในเวลากลางวันสำหรับนำไปให้ความอบอุ่นในเวลากลางคืนซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนใกล้เคียงกันตลอดเวลา พื้นควรเทคอนกรีตเพื่อทำความสะอาดง่ายและสะดวกขณะปฏิบัติงาน
สำหรับวิธีการเพาะเห็ดฟาง โรงเรือนของเพชรสุพรรณฟาร์ม เมื่อเราได้ทะลายปาล์มมาแล้ว จะนำไปแช่น้ำเปล่า 3 -4 คืน จากนั้นนำออกมาหมักทะลายปาล์ม 1 ตันจะได้รำประมาณ 6 kg .การเลี้ยงเชื้อรายิปซั่ม 2 kg. สำหรับกระตุ้นเส้นใยเห็ด ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอจะใส่เพื่อย่อยสลายวัสดุเพราะให้เปลื่อยเร็ว และมีถั่วเหลืองบดอีก 2 kg. การเพาะเห็ดฟางของเพชรสุพรรณฟาร์มมีเพียง 4 อย่างเท่านั้น ไม่ได้ใช่ปูนขาวเหมือนฟาร์มอื่นๆ เนื่องจากเราใช้ทะลายปาล์มและในทะลายปาล์มมีค่า PH ของมันในตัว ในวันที่เรานำเข้ามาใหม่ทะลายปาล์มมีค่า PH ค่อนข้างสูง ประมาณ 8- 9 แต่เมื่อเก็บไว้สัก 3-4  วันจะปรับค่าให้เป็นกลางเหลือประมาณ 4-7 จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนขาวหรือปูนหอยเป็นการลดต้นทุนไปในตัว
                 
จากนั้น นำส่วนผสมทั้งหมดมาคุกเข้าให้เท่ากัน เอาทะลายปาล์มมาหมัก 1 กองกว้างเท่าไหร่ก็ได้แต่สูง 70 cm. ต้องตั้งที่พื้นปูนเพื่อทำงานสะดวก เอาทะลายปาล์มปูเรียงตามโรงเรือนที่พื้น 1 ชั้น และโรยอาหารใส่อย่างนี้จนสูงและชั้นสุดท้ายไม่ต้องโรย อาหาร - น้ำให้ชุ่มและลดอาหารและพรมน้ำให้อาหารเปียก คุมผ้าใบทิ้งไว้ 4 คืน ระหว่าง 4 คืน เรามาแช่ฟาง ซึ่งแนะนำให้ใช่ฟางข้ามปีใช้ได้ดีแต่หากหาฟางเก่า ไม่ได้มีเทคนิคที่คิดค้นขึ้นมาได้ไม่นานนี้ คือ ปกติเราจะใช้ปุ๋ยยูเรียหมักเพื่อทำให้เกิดแอมโมเนีย แต่มักจะเกิดเห็ดที่ไม่ต้องการขึ้น จึงนำมาแช่น้ำก่อน 1 คืน เปิดน้ำทิ้งไว้ 3 คืน จึงเอามาเข้าโรงเรือน ซึ่งจะเป็นวิธีการป่มฟางให้เปื่อย แล้วเมื่อเข้าโรงเรือนแล้วให้จะช่วยให้เห็ดรุ่น  2 ดกและมีดอกใหญ่ การขนฟางเข้าโรงเรือนให้ใช้ฟางปู ชั้นเพราะหนา 3 นิ้ว เสร็จแล้วรดน้ำเข้าให้ชุ่มความสดชื่นให้เสมอกันทั่วห้อง ให้น้ำเพื่อปรับความชื้น เอาทะลายปาลืมมาปูทับหากเป็นหน้าหนาวเรียงให้ชิดแต่หากเป็นหน้าร้อนเรียงให้ห่าง จากนั้นอบฆ่าเชื้อ ใช้เตาอบต้มน้ำให้เดือดเอาไอน้ำเข้าโรงเรือนอุณหภูมิ 63 องศา 2ชั่วโมง วันรุ่งขึ้นโรยเชื้อเห็ด หว่านให้ทั่วชั้น จากนั้น 3 คืน ให้น้ำบางบางฉีดแค่เส้นใยยุบตัว เส้นใยจะมีหรือไม่ก็ต้องให้น้ำด้วยเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด นี่ถือเป็นเทคนิคของที่นี่ ส่วนที่อื่นพอตัดใยแล้วมักจะเปิดโรงเรือนระบายอากาศเลย แต่ที่นี่จะเปิดช่องลมก่อนไม่ระบายอากาศ 2 คืน สังเกตว่ามีเม็ดถึงจะระบายอากาศ จะทำให้เห็ดเกิดเม็ดกับดอกเก็บผลผลิตเร่งรอบเร็วขึ้น จากนั้นอีก 7- 8 วัน ก็เก็บดอกได้เก็บไปประมาณ 3-4 รุ่นหมดรุ่นแรก ช่วงนี้เราให้น้ำได้ วิธีการให้น้ำฉีดใต้ชั้นเพาะ เพื่อให้หยดลงมา ไม่ควรฉีดน้ำให้โดนดอกเห็ดมาก เพราะจะทำให้เห็ดฝ่อ ตอนที่ฉีดดูเหมือนไม่ชุ่ม แต่พอปิดลงทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง และความชื้นจะพอดี เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ไปในตัว โดยใน 1 ตารางเมตร ผลผลิตที่ได้เรามีตลาดรองรับปัจจุบันเห็ดตูมขายส่งกิโลกรัมละ 80 บาท เห็ดแย้มกิโลกรัมละ 60 บาท ตลาดไปได้อีกไกลและราคาไม่ตกเ พราะความต้องการบริโภคมีมากมายกว่าเห็ดชินอื่นๆ

นอกจากเพาะเห็ดฟางขายดอกสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำแล้วปัจจุบันคุณนรินทร์ ยังทำก้อนเชื้อจำหน่ายอีกด้วย ราคาก้อนละ 10 บาท หากเป็นราคาขายส่งก้อนละ 8 บาทผลิตได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 พันก้อน มีร-ายได้เพิ่มอีกเดือนละ6- 70,000 บาท มาทำตรงนี้เป็นเจ้านายตัวเอง เราอยู่บ้านไม่ต้องไปไหน ตอนนี้ทำเห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เพิ่มด้วยโดยถ่ายทอดมอบหมายให้น้องชายดำเนินการ อย่างไรก็ดีสำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่กำลังสนใจเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน คุณนรินทร์ คำแนะนำให้ศึกษาให้ดีก่อน เพราะถือว่าเป็นเห็ดปราบเซียนแต่ก็ไม่ได้ยาก จนทำไม่ได้สามารถเรียนรู้และนำไปทำจริงให้ประสบความสำเร็จได้ หากเกษตรกรท่านใดอยากเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน ติดต่อได้ที่ ฟาร์มเห็ดเพชรสุพรรณ หรือ ที่ศูนย์เชื้อเห็ดศรีประจันทร์ จำหน่ายอุปกรณ์ทำเห็ด เลขที่ 74 หมู่ 6 ตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี  72140    เปิดทุกวันเวลา 8.30 น. ถึง 17.00น.โทร 087-034-4566 หรือ 080-662-2525

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น