วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

วิธีเพาะเห็ดฟางสร้างรายได้หลักแสน

เห็ดฟางเป็นเหตุที่รู้จักกันมานาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงนิยมบริโภคกันโดยทั่วไปทำให้เห็ดฟางไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำเหมือนเห็ดชนิดอื่นๆ หรือไม่ค่อยมีปัญหาด้านการตลาดมากนัก ในกรณีที่มีผลผลิตออกมามากในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการเพาะมากมาย อาศัยวัสดุที่เหลือนะใช้ในพื้นที่มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการเพาะเห็ดฟางมีดังนี้
การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ทำกันมานานมีการพัฒนามาจากการเพาะกองสูง ซึ่งเป็นการประหยัดวัสดุเพาะ สะดวกเพราะง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริมและให้ผลผลิตที่แน่นอน
อุปกรณ์ ประกอบด้วย วัสดุที่ใช้ในการเพาะเช่นซังข้าว หญ้าแฝก ขี้เลื่อยเก่า เชื้อเห็ดฟาง แบบพิมพ์หัวเห็ด มูลวัว บัวรดน้ำ และพลาสติกใส
การเตรียมดิน เกษตรกรเตรียมดินที่ตากแดดไว้ก่อน 2 ถึง 3วัน  สภาพให้เป็นกลางรดน้ำให้ชุ่มก่อนเพราะเพื่อให้ดินอุ้มน้ำได้ดีไม่ดีงความชื้นจากกองเพาะ จากนั้นนำ ฟาง อาหารเสริมประเภทใหญ่ เช่น ขี้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวา สับตากแดด ต้นกล้วยสับตากแดดแช่น้ำให้เปียกทั้งตัวทิ้งไว้ประมาน 1 คืนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง


การเพาะเห็ด 

1. รดน้ำที่พื้นดินและโรยปูนขาวนำแบบเพาะที่เตรียมไว้วางบนแปลง
2. นำฟางประมาณ 7 – 8 kg. ใส่ในแบบเพาะกดให้แน่นให้มีความหนาแน่นประมาณ 3 ถึง 4นิ้วหลังจากแนะนำอาหารเสริมขึ้น สะเด็ดน้ำประมาณครึ่งถึง 1kg. โดยโดยรอบเพาะให้กว้างประมาณ 2 นิ้ว แล้วเอาหัวเชื้อผสมแป้งข้าวเหนียว (อาหารเสริม) ที่เตรียมไว้ 1 ห่อ แบ่งเป็น 3 ส่วน (เพาะได้ 1 กอง) นำมา 1/ 3 ของเชื้อ โรยอาหารเสริมโดยรอบทำสลับแบบนี้
3. ยกแบบเพาะออกเว้นห่างจากกองแรกประมาณ 1 คืบได้ทำการเพาะเช่นเดียวกันต้องตัดออกไปเรื่อยเรื่อยแล้วแต่พื้นที่  
4. หลังจากทำกองเพาะเสร็จแล้วแต่เราก็ต้องรดน้ำให้ชุ่มทุกเมื่อรดน้ำทั้งหมดอีกครั้ง
5. พรวนดินระหว่างกองเพราะและรอบรอบก็เพราะอีกครั้ง 1 ควรห่างจาก กองที่เพาะ 20cm โดยรอบ
6. นำเชื้อเห็ดฟางมาคุ้มกับอาหารเสริมในอัตราส่วน 1 ต่อ 10 วันบนพื้นผิวดินที่พรวนให้ทั่วทั้งแปลงรวมทั้งครบรอบ แปลงเพาะด้วย
7. เอาผ้าพลาสติกคลุมกองเพาะ ให้คลุมพื้นดินรอบกองเพาะออกมา ประมาณ 50 เซนติเมตร (ไม่ควรคลุกติดกองเพาะจะทำให้ดอกเห็ดไม่เกิดบนดินเท่าที่ควร) ใช้พลาสติก 2 แผ่น คลุมซ้อนกันกลางกอง
8. เอาฟางคลุมหน้าผ้าพลาสติกให้ทั่ว ถ้าฤดูร้อนคลุมทับหนา ฤดูหนาวคลุมบาง (กองเพาะในฤดูหนาวต้องทำกองใหญ่และชิดกันให้อาหารเสริมมาก คลุมกองให้มิดเพื่อรักษาอุณหภูมิให้สูง กองเพาะในฤดูร้อนต้องทำกองเล็กและห่างกัน 1 คืบ แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดี)

การดูแลรักษาแปลงเห็ด

1.  การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย
2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศ ปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟางยังไม่เกิดตุ่มดอก)
3.นำฟางแห้งคุมทับบนฟาง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง และปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็นใบมะพร้าวแผง หญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้
4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศ และดูการเจริญของดอกเห็ดในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็กๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
5.ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบาๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาดเพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้าพลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
6.ดอกเห็ดจะพัฒนาเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7-9 วัน ของการเพาะ และจะเก็บดอกเห็ดไว้ราว 2-3 วันต่อจากนี้ จะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กรัม)
7.การเก็บดอกเห็ดจะเก็บในตอนเช้าๆ เพราะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบาน จะขายไม่ได้ราคาการเก็บดอกให้ใช้มือจับตรงโคนดอก แล้วโยนนิดหน่อยแล้วดึงออกมาถ้าติดกันหลายๆดอก ให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนหลงเหลืออยู่เพราะจะทำให้เน่า และเป็นสาเหตุการเน่าเสียของดอกเห็ดได้

ปัญหาการเพาะเห็ดฟางอย่างกองเตี้ย

1.พื้นที่ที่มีสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ไม่ควรเพาะเห็ดในพื้นที่นี้
2.วัสดุที่ใช้ในการเพาะหากเก่าเกินไป ถ้าเป็นฟางข้าวที่เก็บไว้นานๆ จะมีเชื้อจุรินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในกองฟางเจริญและใช้อาหารในฟาง ทำให้ไม่พอต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ควรเลือกฟางค่อนข้างใหม่แห้ง ไม่สดเกินไปและไม่มียาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าเชื้อราตกค้างอยู่
3.เชื้อเห็ด จะมีปัญหามากต่อผู้ประกอบการค้าเห็ด โดยสาเหตุมาจากเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ สายพันธุ์ไม่ดี มีการต่อเชื้อกันหลายครั้งจนเชื้ออ่อนแอ ควรเลือกเชื้อเห็ดจากแหล่งที่ไว้ใจได้
4.ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ จะมีการเจริญของเห็ดได้มากโดยเฉพาะในฤดูหนาว เห็ดฟางจะไม่เจริญถ้าไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ถ้าในฤดูฝนจะทำให้แปลงเพาะเปียกชื้น ดอกเห็ดจะเน่าควรคลุมแปลงเพาะให้มิดชิด ในฤดูร้อนอุณหภูมิในแปลงเพาะจะสูงมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของออุณหภูมิแตกต่างกันมากในเวลากลางวันและกลางคืน (ไม่ควรต่างกัน 10 องศาเซลเซียส) ควรจะให้มีการระบายอากาศ และควบคุมความชื้นให้เหมาะสม
5.การเพาะเห็ดฟางซ้ำในที่เดิมหลายครั้ง จะมีการสะสมศัตรูเห็ดและโรคเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง หรือไม่ได้เลย ถ้าจำเป็นต้องเพาะซ้ำที่เดิม ควรใช้ไฟเผาพื้นที่และโรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพพื้นที่ใหม่
6.น้ำที่ใช้ในการแช่ฟาง ต้องมีสภาพเป็นกลางมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.5-7 น้ำต้องไม่เน่าเหม็น ถ้าเป็นน้ำประปาต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่
7.ศัตรูเห็ด เช่น มด ปลวก ถ้ามีควรจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่อาศัยของมดปลวกทำการเพาะเห็ด ควรแก้ไขโดยการใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำรดดิน แล้วปล่อยไว้ประมาณ 1-2 เดือน จึงทำการเพาะเห็ด
8.ศัตรูจากหนู กิ้งกือ จิ้งเหลน ที่ชอบมาอาศัยในแปลงเห็ดแล้วกัดกินดอกเห็ดหรือคุ้ยเขี่ย ทำให้เกิดความเสียหาย ควรวางกับดักและแหล่งที่อยู่อาศัยรอบบริเวณเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน

การเพาะเห็ดฟางในโรงเรียนการผลิตในโรงแรมเป็นวิธีการที่ผิดเพื่อการอุตสาหกรรมซึ่งต้องมีต้นทุนในการสร้างโรงเรือนแต่คุ้มค่าสามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้จะเป็นวิธีที่นิยมสำหรับเกษตรกรที่ทำฟาร์มเห็ดในลักษณะอุตสาหกรรมที่ผลิตดอกเห็ดป้อนตลาดขายส่ง
สำหรับรูปแบบของโรงเรือนหรือห้องเพาะแต่ละหลัง ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า กว้าง x ยาว x สูง = 4x6x3.5 เมตร มีประตูหัวท้าย หน้าต่างแบบเปิด-ปิด เพื่อระบายอากาศร้อนและอากาศเสียในโรงเรือนหรือห้องเพาะ ในโรงเรือนบุด้วยพลาสติกทั้งหมดซึ่งผ้าพลาสติกยาติดผนังห้องด้วยกาวยางหรือเย็บให้ติดกันด้วยเครื่องรีดพลาสติก เพื่อเก็บไอน้ำร้อนสำหรับอบปุ๋ยหมักและเก็บความชื้นขณะเพาะ ชั้นเพาะในโรงเรือนมี 2 แถวๆ ละ 4 ชั้นแต่ละชั้นมีความกว้างประมาร 1-1.25 เมตร ยาวประมาณ 5 เมตร และสูงห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นของชั้นปูด้วยไม้ลวกหรือตะแกรงโลหะหรืทอตะแกรงพลาสติก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำร้อนมีทั้งชนิดใช้ไฟฟ้าซึ่งมีราคาสูงและชนิดประกอบ ด้วยเตาอิฐกับหม้อต้มน้ำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นเหล็กหรือจะใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร จำนวน 2-3 ใบ แป๊บน้ำต่อจากหม้อต้มน้ำผ่านเข้าไปในโรงเรือน วางไว้ที่พื้นใต้ชั้นเพาะแต่ละแถว แป๊บน้ำส่วนนี้จะเจาะรูเล็กๆ ห่างกันประมาร 10 เซนติเมตร วางไปตามแนวยาวใต้ชั้นเพาะ ไอน้ำร้อยภายในโรงเรือนขณะอบปุ๋ยหมัก ควรควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง

สูตรปุ๋ยหมัก และขั้นตอนการหมัก ได้แก่
สูตรที่ 1 ฟางข้าว (ชานอ้อยหรือขี้เลื่อย) ผสมขี้ฝ้าย รำข้าว ปูนขาวในปริมาณ 50 45 5-10 และ 5 กิโลกรัม โดยลำดับ
วิธีการหมัก นำฟางสับให้สั้น ขนาด 2 นิ้ว และขี้ฝ้ายแช่น้ำจนอิ่มตัว และใส่พิมพ์ไม้ซึ่งมีขนาด 1.5x1.5x1 เมตร โดยใส่ฟางและขี้ฝ้ายสลับกันเป็นชั้นๆ โรยด้วยรำข้าวโรยเป็นชั้นๆจนหมดจึงคลุมด้วยผ้าพลาสติก กองในลีกษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมอีก 2 ครั้ง จึงกลับกองใส่ปูนขาวตีเป็นแปลงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ขนาดความสูงของกองประมาณ 50 เซนติเมตร และรักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 องศาเซลเซียส 2 วัน แล้วจึงนำปุ๋ยหมักขึ้นชั้นในโรงเรือน วัสดุแห้งที่หมักใช้ในห้องขนาด 4x6 เมตร ประมาร 400 กิโลกรัมต่อห้องหรือโรงเรือน
สูตรที่ 2  ขี้ฝ้าย รำ ปูนขาว ในอัตราส่วน 100 : (5-10) : 5 กิโลกรัม
วิธีการหมัก หมักขี้ฝ้ายกับน้ำในตอนเช้าและบ่ายหมักผสมกับรำ กองเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 วัน และกลับกองเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 วัน เติมปูนขาว และจึงกลับกองตีเป็นแปลงสี่เหลี่ยมยาว ขนาดความสูงของกองประมาณ 50 เซนติเมตร  และรักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน แล้วจึงนำขึ้นชั้นในโรงเรือน วัสดุแห้งที่ให้หมักในห้องขนาด 4x6 เมตร ประมาร 400 กิโลกรัมต่อห้องหรือโรงเรือน
สูตรที่ 3 ขี้ฝ้าย รำ ปุ๋ย (สูตร 16-20-0) แป้งข้าวเหนียว ปูนหอย ปูนขาว ยิบซัมในประมาณ 100 10 0.25 1.2 1.8 0.8 กิโลกรัมโดยลำดับ
วิธีการหมัก หมักขี้ฝ้ายกับน้ำ 8-12 ชั่วโมง ผสมกับปุ๋ย (16-20-2) แป้งข้าวเหนียว ปูนขาว และน้ำ หมักเป็นกองสี่เหลี่ยมอัดแน่น 2 วัน จึงกระจายกองใส่ปูน เปลือกหอย ยิบซัม รำ และรดน้ำคลุกให้ทั่วเป็นแปลงสี่เหลี่ยมยาว โดยกองมีความสูงประมาร 50 เซนติเมตร รักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 องศาเซลเซียส หมักไว้ 1-2 วัน แล้วจึงนำเข้าโรงเรือน
สูตรที่ 4 เปลือกถั่วเขียวบดแตก รำละเอียด ยูเรีย อาหารเสริม ข้าวฟ่างป่น มูลม้าแห้ง ปูนขาว ยิบซัม ในปริมาณ 100 0.8 0.5 3 1 0.5 กิโลกรัม ตามลำดับ
วิธีการหมัก เปลือกถั่วหมักน้ำ 2 คืน กลับกองใส่ส่วนผสมทุกอย่างพร้อมโชยน้ำ คลุกให้เข้ากัน กองเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 คืน กระจายกองสี่เหลี่ยมความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร หมักไว้ 2 คืน จึงนำเข้าโรงเรือน

การนำขึ้นชั้น ปุ๋ยที่หมักแล้วนำวางลงบนชั้น ซึ่งปูด้วยฟางที่ผ่านการแช่น้ำจนอิ่มตัวหรือผ้าพลาสติก (เจาะรู) ปริมาณของปุ๋ยเมื่อกองบนชั้นมีความหนาประมาณฝ่ามือหรือประมาณ 4-6 นิ้ว ต้มน้ำร้อนปล่อยไอน้ำร้อนเข้าโรงเรือน โดยควบคุมอุณหภูมิในช่วง 60-66 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง ลดความร้อนลงจนอุณหภูมิภายในโรงเรือนอยู่ในช่วง 36-38 องศาเซลเซียส จึงโรยเชื้อเห็ดฟาง
เชื้อเห็ดฟาง คัดเลือกเชื้อเห็ดที่ดีโดยไม่มีเชื้อราดำ ราขาว ราเขียวปนเปื้อน เส้นใยเจริญบนปุ๋ยยาวต่อเนื่องกันจนก้อนเชื้อเห็ดรวมตัวกันจับแล้วไม่หลุดล่วงกระจาย มีกลิ่นหอมของเห็ดฟางจากก้อนเชื้อชัดเจน นำมาโรยบนผิวหน้าปุ๋ยหมักที่อบไอน้ำ ใช้เชื้อเห็ดฟางประมาณ 2-2.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อวัสดุหมักแห้ง

การดูแลรักษา ช่วง 1-5 วัน เป็นระยะเจริญเติบโตของเส้นใยซึ่งต้องการอุณหภูมิสูง จึงต้องรักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส และความชื้นในห้องไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ความชื้นใต้ชั้นเพาะและรอบๆผนังห้อง ถ้าหน้าปุ๋ยแห้งควรให้น้ำเป็นละอองฝอยหรือใช้เครื่องสูบน้ำต่อสายยางใช้หัวพ่นแบบฝอยจนเส้นใยเริ่มจับเป็นตุ่มดอกเล็กในวันที่ 4-6ซึ่งต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่า จึงลดความร้อนในโรงเรือนลงให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส โดยระบายความร้อนและอากาศเสียออกด้วยการเปิดประตูหน้าต่างออกให้หมดและรดน้ำรอบๆผนัง และบริเวณพื้นใต้ชั้นรวมทั้งผิวหน้าปุ๋ยหมักบางๆจะทำหึความร้อนลดลงได้และเป็นการให้แสงสว่าง อากาศบริสุทธิ์ เข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเป็นดอกเห็ด ดังนั้นในช่วงดอกจึงจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้ดี โดยหมั่นให้น้ำกับพื้นแล้วกวาดออกหมุนเวียนเอาอากาศรบริสุทธิ์เข้ามา ทำเช่นนี้พอจะลดอุณหภูมิของห้องได้เก็บดอกเห็ดฟางได้ภายใน 7-10 วัน และจะเก็บได้ 3-5 ครั้ง ภายใน 3 สัปดาห์
การสุขาภิบาล จำเป็นต้องรักษาพื้นที่ปุ๋ยหมักและโรงเรือนให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา มีร่องน้ำระบายน้ำเสีย ซึ่งเกิดจากการหมักปุ๋ยให้ออกไปจากบริเวณปฏิบัติการ เพราะเศษปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมักที่ใช้เพาะแล้วต้องนำไปไว้ที่อื่น เพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อโรค แมลงศัตรูเห็ด สะสมในบริเวณนั้น ปุ๋ยหมักที่ใช้แล้วสามารถนำไปปรุงแต่งใหม่เพื่อใช้เพาะเห็ดถุงหรือใช้เป็นปุ๋ยหมักบำรุงดิน พืช ได้เป้นอย่างดี
อย่างไรก็ดีการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเป็นงานที่ละเอียดอ่อนเกษตรกรต้องหมั่นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรือน รักษาระดับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม เพราะไม่อย่างนั้น จะมีปัญหาตามมา ซึ่งปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนส่วนใหญ่คือ ปัญหาราเขียว ให้เกษตรกรหมั่นสังเกตชั้นเพาะ หากพบราเขียวเกิดขึ้นแม้เพียงจุดเดียวบนชั้นเพาะ ให้หยิบออกและฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์แบซิลลัส ซับทิลิส ปัญหาราขาว เกิดจากอุณหภูมิในโรงเรือนสูงเกินไป หากเกิดราขาวเกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยยูเรียโรยบนพื้นที่เกิดราขาวโดยให้แต่ละเม็ดปุ๋ยห่างกันประมาณ 1 นิ้ว จะสามารถยับยั้งการเจริญของราขาวได้ ปัญหาราเมือก เกษตรกรควรหมั่นสังเกตบนชั้นเพาะ หากพบเมือกคล้ายวุ้นหยดบนพื้นให้รีบตักไปทิ้งให้ห่างไกลโรงเรือนและโรยทับด้วยปูนขาว ปัญหาจากไรถือเป็นอุปสรรคในการเพาะเห็ด เกษตรกรควรใช้ใบกะเพราไปมัดไว้บนชั้นเพาะซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาได้ ปัญหาแมลงวันในการหมักวัสดุควรปิดให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันมาวางไข่


การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นวิธีคิดค้นของเกษตรกรในการประยุกต์ที่เน้นในเรื่องของการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีต้นทุนค่อนข้างต่ำ และสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้อย่างยั่งยืน โดยมีวัสดุที่หาได้ง่าย ๆคือ วัสดุที่ใช้ในการเพาะ เช่น ซังข้าว หญ้าแฝก หรือก้อนขี้เลื่อยเก่า เชื้อเห็ดฟาง บัวรดน้ำ ตะกร้าพลาสติก พลาสติกใส มูลวัว ซาแลน หรือกระสอบป่าน
วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า โดยการนำซังข้าวหรือหญ้าแฝกมาแช่น้ำไว้ 1 คืน (ถ้าเพาะจากก้อนเห็ดเก่าให้บิดก้อนเห็ดให้แตก) หั่นผักตบชวาเป็นชิ้นเล็กๆ (เลือกผักตบชวาที่เน่าออก) นำเชื้อเห็ดฟางมาขยี้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมแป้งข้าวเหนียวและอาหารเสริมอย่างละ 2 กำมือคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำวัสดุเพาะวางบนตะกร้าหนาประมาณ 2 นิ้ว กดให้แน่น โรยผักตบชวาข้างตะกร้าหนาประมาณ 1 นิ้ว และโรยมูลวัวหนาประมาณ 1 นิ้ว ตามด้วยเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ โรยบางๆ (ชั้นที่ 1) ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นแรก ส่วนชั้นที่ 4 ให้โรยเต็มตะกร้าปิดทับด้วยวัสดุเพาะบางๆ จากนั้นนำไปวางกลางแดดที่มีแสงส่องผ่านรดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยพลาสติกและใช้ซาแลนหรือกระสอบป่านทับอีกชั้น หมั่นตรวจดูความร้อนในพลาสติก โดย 3 วันแรก ให้มีอุณหภูมิประมาณ 33-35 องศาเซลเซียส เมื่อเริ่มมีเส้นใยสีขาวเกิดขึ้น ทิ้งไว้ 2 วัน แล้วรดน้ำรอบพลาสติกเพื่อลดอุณหภูมิลง จะทำให้เกิดตุ่มของดอกเห็ดเมื่อเกิดตุ่มดอกเห็ดให้รดน้ำทุกวันโดยรดรอบพลาสติก จนกว่าจะเก็บดอกเห็ดหมด เห็ดจะเริ่มเก็บได้ประมาณ 3 หลังจากที่เกิดดอกตุ่มวิธีการเก็บดอกเห็ดให้ใช้มีดตัด จะทำให้ดอกไม่ช้ำ

อ้างอิงข้อมูลจาก
-ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
-กลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (ตึกโภชากร) กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-0147 0-2561-4673

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น